สถานการณ์ปัจจุบันของโรคมะเร็งในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยปี 2566

            วันนี้มาด้วยเรื่องโรคร้ายแรงซึ่งเป็นสาเหตุในการคร่าชีวิตคนไทย (รวมถึงประเทศอื่นๆ) เป็นอันดับต้นๆอย่างโรคมะเร็งกันครับ  จากสถิติโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2565 พบว่า ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า 1 แสนรายต่อปี! (เฉลี่ย 400 คนต่อวัน) นอกจากนี้ข้อมูลสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2564 ยังพบว่าโรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆเป็นกลุ่มโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด (อัตรา 128 คนต่อประชากร 100,000 คน) 

รักษามะเร็งที่ไหนก็ได้!

           ด้วยความที่โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายและสามารถเกิดได้กับทุกคน ดังนั้นจึงถูกบรรจุเข้าไปในวาระสำคัญของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข คนไทยทุกคน ไม่ว่าจะใช้สิทธิบัตรทอง ข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม สำหรับคนที่ใช้บัตรทองสามารถรักษาที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่จำเป็นต้องรอรักษากับหน่วยบริการใกล้บ้าน) ข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาได้โดยตรงโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน สิทธิประกันสังคมรักษาสถานที่พยาบาลที่เลือกไว้ โดยไม่จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายและจำนวนครั้งในการรักษา (เฉพาะยาในบัญชีหลัก) ดูรายละเอียดที่ (https://www.nhso.go.th/news/3950)

นับถอยหลัง Shutdown มะเร็ง

               มนุษย์เราต่อสู้กับมะเร็งมานานมากนะครับ/ค่ะ ไม่ว่าจะใช้การฉายแสง การทำคีโมบำบัด หรือการรักษาแบบมุ่งเป้าในระยะแรก แต่ปัจจุบันก็ยัง Shutdown มะเร็งไม่ได้สักที เรื่องนี้เราอาจจะต้องกลับไปดูที่ต้นเหตุ เพราะต้นเหตุของการเกิดมะเร็งจริงๆอยู่ที่ความผิดปกติของ DNA (ไม่ว่าจะจากปัจจัยภายนอกหรือภายใน) พอ DNA ผิดปกติ เซลล์ดี กลายเป็นเซลล์ร้าย กลายเป็นเนื้อร้าย แต่ความยากของเรื่องนี้คือ มะเร็งแต่ละชนิดเกิดจาก DNA ผิดปกติคนละตำแหน่ง ยากกว่านั้นคือ มะเร็งชนิดเดียวกันก็เกิดจาก DNA ผิดปกติคนละตำแหน่งอีก เราจะเห็นได้เลยว่า คนเป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน ได้รับการรักษาเหมือนกัน แต่ผลอาจไม่เหมือนกัน เพราะฉนั้น Key ของเรื่องนี้คือถ้าหา ตำแหน่งที่ DNA ผิดปกติได้ จะทำให้สามารถรักษามะเร็งแบบจำเพาะเจาะจงได้ วิธีที่ใช้ในการหาลำดับ DNA คือเทคนิค Next Generation Sequencing (NGS) เป็นวิธีที่ทำได้เร็ว แม่นยำ และทำได้หลายตัวอย่างพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้การตรวจมะเร็งทำได้ง่าย เร็ว และมีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้แพทย์สามารถเลือกยาได้อย่างจำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละคน มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น และลดผลข้างเคียงจากการทำคีโม

               ในปัจจุบัน สปสช. ได้บรรจุสิทธิการตรวจมะเร็งเต้านมแบบจำเพาะเจาะจงด้วยวิธี NGS (ตรวจยีน BRCA1/2) เข้าระบบประกันสุขภาพแล้ว และมีแผนจะเพิ่มการตรวจมะเร็งลำไส้ มะเร็งเยื่อบุมดลูก และ ชุดยีนสำหรับการเลือกยาต้านมะเร็ง เข้าไปในสิทธิประกันสุขภาพด้วย

Shutdown มะเร็งด้วย NGS 

1) ประเมิณความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในคนปกติ (Polygenic Risk Score: PRS) 

2) ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งแบบจำเพาะเจาะจง (รู้ตำแหน่ง DNA ที่ผิดปกติ > เลือกยาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน)  

3) ติดตามการรักษา

4) ติดตามการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง (Relapse) 

อ้างอิง

    • https://ch9airport.com/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
    • Manop Pithukpakorn. Precision Oncology in Thailand. Illumina Roadshow 2023 event on 17th March 2023, Thailand.
    • https://thaicancersociety.com/rights-to-health-care/
    • https://www.thaigov.go.th/infographic/contents/details/5323