ทำไม Genome จึงได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ?

การแพทย์จีโนมิกส์ คืออะไร ?

การแพทย์จีโนมิกส์  (Genomic Medicine) เป็นนวัตกรรมของการให้บริการทางการแพทย์ที่แม่นยำและจำเพาะกับบุคคล โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรมร่วมกับข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิต มาประมวลผลด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อทำนายโอกาสการเกิดโรค การวินิจฉัย การรักษาที่มีประสิทธิภาพ 2 ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุด แม่นยำ และเหมาะสมเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดการเจ็บป่วย และป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัย


อะไรคือจุดที่ทำให้ Genome ได้รับความสนใจอย่างมาก

4 เหตุผลหลักที่ทำให้การแพทย์จีโนมิกส์มีความน่าสนใจและทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และมีส่วนสำคัญที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ทั้งในแง่การรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ประกอบไปด้วย

การแพทย์จีโนมิกส์เป็นทางออกของโรคที่รักษายาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางพันธุกรรม และโรคหายาก

เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการถอดรหัสพันธุกรรม และการประมวลผลที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

การแพทย์จีโนมิกส์จะเข้ามาปลดล็อกการรักษาพยาบาลแบบเดิมสู่แนวทางการรักษาที่เฉพาะบุคคลและแม่นยำมากขึ้น

ตลาดการแพทย์จีโนมิกส์มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ต้นทุนในการถอดรหัสพันธุกรรมที่โน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยสนับสนุนสำคัญประการหนึ่งที่ส่งเสริมให้ในอนาคตอันใกล้นี้การแพทย์จีโนมิกส์จะพัฒนาและเติบโตอย่างก้าวกระโดด คือต้นทุนในการถอดรหัสพันธุกรรมที่โน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยต้นทุนในการถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมมนุษย์ 1 คน ลดลงจากปี   พ.ศ. 2544 ( ค.ศ. 2001) มากกว่า 1 แสนเท่า ซึ่งข้อมูลล่าสุด (ส.ค. 2554) จาก NHGRI ระบุว่า ต้นทุนการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ 1 คน เฉลี่ยอยู่ที่ 400-600 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 15,000 – 20,000 บาท

นอกเหนือจากต้นทุนในการถอดรหัสพันธุกรรมที่โน้มลดลงอย่างต่อเนื่องแล้วการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Cloud Computing Blockchain และ Big Data จะมีส่วนสำคัญที่เข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


ศูนย์การแพทย์จีโนมิกส์ในประเทศไทย

  • ศูนย์บริการทดสอบการแพทย์ จีโนมิกส์: EEC x ม. บูรพา
  • ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics): คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  • ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกันและ สุขภาพครอบครัว (Preventive Genomics and Family Check-up Services Center): รพ. บํารุงราษฎร์
  • ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านจีโนมิกส์และการแพทย์ แม่นยํา: รพ. จุฬาลงกรณ์

 


เอกสารอ้างอิง :
ถอดรหัสทิศทาง Genomics นำการแพทย์ไทยเทียบชั้นสากล โดย Krungthai compass
https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_479Genomics.pdf?fbclid=IwAR0g4Twd4iCzO-D2Zf0LHGKng1-L2ryWAGBpUF7hPj2RZyjLbX0dPyV6dUA